เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่ยุคที่ 4 (4G Mobile)
Mobile 4G หรือเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่ยุคที่ 4 ถือเป็นยุคถัดไปของ 3G ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บริการ Mobile Broadband สามารถสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียงรวมทั้งข้อความภาพ ตัวอักษรและ สตรีมมิ่ง มัลติมีเดีย ความเร็วสูงด้วยอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (IP-based) ซึ่งดีกว่าระบบเทคโนโลยีไร้สายยุคก่อนหน้านี้
4G เป็นเทคโนโลยี่ใหม่ของระบบเครือข่ายไร้สาย สามารถส่งผ่านข้อข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที และยังช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของระบบ GPRS ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนอกจากนี้เทคโนโลยี 4G สามารถค้นหา ตำแหน่งตั้งต่างๆได้ทั่วโลกเหมือนบุคลนั้นไปอยู่สถานที่นั้นจริงๆ
สำหรับวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบ่งออกเป็นยุคต่างๆได้ดังนี้
ระบบเซลล์ลุล่ายุคแรก (1G)
เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ถือเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเชิงพาณิชย์ที่มีการใช้งานมากที่สุด (First Generation Mobile) ซึ่งใช้การส่งสัญญาณแบบอนาล็อก ที่มีพื้นฐานมาจาก AMPS (Advanced Mobile Phone Service) โดยใช้คลื่นความถี่ระหว่าง 800 ถึง 900MHz ซึ่งระบบโทรศัพท์แบบ 800 และ 900 MHz ยังไม่แพร่หลายเพราะเทคโนโลยีเพิ่งจะเข้ามา ทำให้ค่าบริการรวมทั้งตัวเครื่องโทรศัพท์มีราคาที่แพงมาก หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่ใช้กับ 1G ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น โดยมีการเพิ่มเทคโนโลยี FDMA (frequency division multiple access) เข้าไปซึ่งก็จะทำให้สามารถเปลี่ยนการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกเดิมไปเป็นดิจิตอลได้ และยังได้แบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 30 ช่องทาง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เสียงออกไปได้
ระบบเซลล์ลูล่ายุคที่2 (2G)
ในขณะที่ยุคแรกใช้สัญญาณAnalog ยังมีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนจึงมีการพัฒนาใช้สัญญาณดิจิตอลในการส่งแทน ซึ่งระบบโทรศัพท์ในยุคดิจิตอลจะให้เสียงที่คมชัดกว่าเดิมมากแทบจะไม่มีสัญญาณรบกวนด้วยซ้ำ
ในยุค 2G นี้ เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site ในยุคนี้จะมีอยู่3ระบบได้แก่
1. D-AMPS (The Digital Advanced Mobile Phone System) เป็นระบบที่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับ APMS ได้ ทำให้สามารถให้บริการพร้อมกันทั้ง 2 ระบบในเขตพื้นที่เซลล์เดียวกัน ซึ่งระบบนี้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลและบีบอัดข้อมูลที่ตัวเครื่องโทรศัพท์ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้โทรศัพท์ 3 เครื่องสามารถใช้ความถี่เดียวกันได้
2. ระบบ GSM (Global System for Mobile communication) ซึ่งยุคนี้ก่อกำเนิดระบบนี้ขึ้นมา ระบบนี้มีความคล้ายคลึงกับ D-AMPS แต่ในระบบ GSM มีช่องสัญญาณที่กว้างกว่า (D-AMPS มีความกว้าง 30 kHz ส่วน GSM มีความกว้าง 200 kHz) มีจำนวนผู้ใช้ต่อคู่ความถี่ต่างกัน (D-AMPS มีจำนวน 3 คน ส่วน GSM มีจำนวน 8 คน) ซึ่งทำให้ระบบ GSM มีความสามารถในการสื่อสารที่เร็วสูงกว่ามาก
3. ระบบ CDMA คือ แทนที่จะทำการแบ่งคลื่นสัญญาณที่ได้รับออกเป็นช่องสัญญาณแคบๆ CDMA อนุญาตให้แต่ละสถานีสามารถใช้คลื่นสัญญาณทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นการทำงาน ลองนึกถึงห้องโถงขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอยู่จำนวนมาก ต่างกำลังสนทนากันอยู่เป็นคู่ๆ วิธีการแบบ TDM คือการแบ่งช่วงเวลาให้แต่ละคู่ในการพูดคุยซึ่งจะต้องผลัดเปลี่ยนกันแต่ละคู่ FDM คือการแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็นช่องและกำหนดให้คู่สนทนาแต่ละคู่ใช้ช่องสัญญาณที่แต่ต่างกันทำให้สามารถพูดคุยพร้อมกันได้
ยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Download Ring tone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
ระบบเซลล์ลูล่ายุคที่2.5 (2.5G)
เป็นการนำเทคโนโลยีเชื่อมต่อวงจรแบบแพ็กเกตสวิทช์ (Packet Switched) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้งานหลายรายสามารถรับส่งข้อมูลได้บนวงจรเดียวกัน ในลักษณะคล้ายกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาใช้งาน มีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS (Generic Packet Radio Service) ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นเทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rate for GPRS Evolution) สำหรับใช้เพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย GSM ให้สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ดีขึ้น แต่ก็ยังนับว่าเครือข่าย GPRS หรือ EDGE ไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานแบบ BWA ได้ เนื่องจากอัตราเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลทั้ง 171.2 และ 384 กิโลบิตต่อวินาที ของ GPRS และ EDGE นั้น เป็นอัตราเร็วรวมของความถี่ใช้งานแต่ละช่อง ในทางปฏิบัติย่อมไม่สามารถเปิดใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ระบบเซลล์ลูล่ายุคที่2.75 (2.75G)
เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) เป็นทางเลือกก่อนก้าวเข้าสู่ยุค 3G อย่างต่อเนื่อง และคุ้มค่า
ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลโดยประมาณของเทคโนโลยียุค 2.75G ในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที (ความเร็วในการใช้งานจริงจะลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากระหว่างใช้งาน ระบบต้องแบ่งช่องสัญญาณบางส่วน ไปใช้งานทางด้านเสียงด้วย)
EDGE
เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นระบบการแบ่งเวลากันใช้ในช่องสัญญาณเดียวกัน โดยเปรียบช่องสัญญาณให้เป็นเสมือนขนมชั้นที่ถูกวางอยู่ในแนวตั้ง เมื่อใดที่มีการใช้โทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องก็จะถูกจัดสรรเวลาให้ใช้ภายในช่องความถี่เดี่ยวกัน
เทคโนโลยี EDGE เป็นการปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของเทคโนโลยี GPRS
ข้อดีของระบบ TDMA
เวลาของผู้ใช้ทุกคนจะเท่ากันหมด ถือว่าทุกคนมีช่องเวลาที่ชัดเจนตายตัว จึงทำให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของเสียง อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องใช้ส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ปัญหาด้านความเร็วจึงได้เกิดขึ้น (เนื่องจาก TDMA ถูกจำกัดความเร็วต่อช่องสัญญาณที่ 9.6 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น) ผู้ประกอบการจึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการนำเอาช่องสัญญาณหลายๆ ช่องมารวมกัน เพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นคือที่มาของเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) แต่ความเร็วของ GPRS ก็ยังจัดว่าเป็นความเร็วที่รองรับในส่วนของวิดีโอคลิปได้ไม่สมบูรณ์อยู่ดี จึงได้มีการนำเอาระบบ EDGE เข้ามา ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS
ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยี EDGE
เป็นการบีบอัดข้อมูลในอัตราส่วน 3:1 เทคโนโลยี EDGE จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น GPRS หรือ EDGE ก็ตาม ความเร็วการส่งข้อมูลที่ได้บนการใช้งานจริงจะต่ำกว่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดของระบบ TDMA ที่ต้องมีการแบ่งช่องสื่อสารสำหรับการใช้งานด้านเสียงไว้ด้วย (Technical Limited)
ข้อดีของเทคโนโลยี EDGE
ผู้ให้บริการระบบ TDMA (GSM) นั้น สามารถอัพเกรดระบบให้รองรับเทคโนโลยี EDGE ได้อย่างไม่ยุ่งยาก โดยจะประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก EDGE มีความสามารถที่เทียบเท่ากับ ระบบ W-CDMA ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐาน UMTS แต่ใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่ามาก
ด้วยอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายจึงสามารถให้บริการรายงานข่าว, การรับส่งไฟล์รูปภาพและเสียงเพลง, พาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีสีสันมากขึ้น ไปจนถึงการเปิดให้บริการสนทนาโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากัน (Video Telephony)
ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป ไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด
171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เพราะจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป
ในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้บริการ ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความน่าสนใจที่จะใช้บริการต่อไป
ระบบเซลล์ลูล่ายุคที่3 (3G)
เป็นระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมทั่วโลก คุณสมบัติและความสามารถของ 3G มีดังนี้ ใช้คลื่นความถี่ 2 กิกะเฮิรตซ์ สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายได้ตลอดเวลา สามารถส่งข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียได้ รองรับการใช้งานประเภทดิจิตอลคอนเทนต์ มีความเร็วในการสื่อสารสูงสุด 2Mbps (ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) สามารถทำโรมมิง (roaming) ได้ทั่วโลก ฯลฯ
ปัจจุบันเครือข่าย 3G ถูกแบ่งออกเป็น 3 มาตรฐานหลักด้วยกันคือ
1. CDMA2000
2. TD-SCDMA
3. UMTS (W-CDMA)
Always On คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) คือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่ล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย
อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC
ระบบเซลล์ลูล่ายุคที่4 (4G)
มาถึงมาตรฐานสุดท้าย คือ Forth Generation (4G) เทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G
จากความสําเร็จในการพัฒนาระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือที่เรียกวาระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 3Gซึ่งมีอยูดวยกันหลายระบบตามคุณสมบัติทางเทคนิคที่แตกตางกันไปภายใตกลุม IMT-2000 (International Mobile Telecommunications for the year 2000) ทําใหบริษัทผูใหบริการระบบโทรศัพทเคลื่อนที่มีรูปแบบบริการใหม ๆเสนอตอผูใชไดหลากหลาย ดังที่เราจะเห็นบริการใหม ๆ ที่มีในโฆษณาตาง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยูกับวาบริษัทผูใหบริการไดทําการพัฒนาหรืออัพเกรด โครง ขายโทรศัพทเคลื่อนที่หรือไม
ขณะเดียวกันเครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ของผูใชก็ตองมีคุณสมบัติรองรับการใชบริการตาง ๆ ถึงจะสามารถใชบริการนั้น ๆ ได และในชวงหลายปที่ผานมานี้ บริษัทชั้นนําตาง ๆที่ทําธุรกิจดานระบบสื่อสารทั่วโลก มีทั้งบริษัทที่เปนผูผลิตอุปกรณตาง ๆ และบริษัทที่เปนผูใหบริการ ไดมีการพัฒนาระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ตอจากยุค 3G อยางตอเนื่อง จนเขาสูระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุคที่สี่หรือระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 4Gเพื่อใหโครงขายโทรศัพทเคลื่อนที่มีสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น
ในปจจุบันระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 3G กําลังมีการพัฒนาใหมีสมรรถนะที่สูงมากขึ้น ยกตัวอยาง มีการพัฒนาใหโครงขายทั้งหมดเปนแบบ IP (All-IP Networks) หมายความวา ขอมูลทั้งหมดอยูในระบบโครงขายจะมีการรับสงกันผานสวิตซแบบแพ็กเกต การเชื่อมตอแบบไรสายนั้นไดมีการพัฒนาใหสามารถรับสงขอมูลที่อัตราเร็วที่ 10 Mbpsขึ้นไป และกําลังพยายามที่จะพัฒนาใหขึ้นไปถึง 30 Mbps
พัฒนาการรับสงขอมูลสามารถอธิบายไดดังนี้ ระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 2G นั้น ไดถูกออกแบบใหมีการรับสงขอมูลที่เปนสัญญาณเสียงเปนหลัก สวนระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 2.5G ไดมีการออกแบบใหสามารถรับสงขอมูลแบบแพ็กเกตได สําหรับระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 3G ไดพัฒนาระบบใหสามารถรองรับการสงขอมูลแบบมัลติมีเดียและรองรับการใหบริการตาง ๆ ทั้งหมดของระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุคกอน ๆ ซึ่งการพัฒนาระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค3G นี้ การรับสงขอมูลผานตัวกลาง โครงขายตองมีความฉลาดมากขึ้น บริการตาง ๆ ที่เปดใหผูใชมีมากขึ้น รวมไปถึงสมรรถนะและคุณภาพของการบริการมีมากขึ้นภายใตสภาวะแวดลอมที่เหมาะสม เชน ในขณะที่เครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ของผูใชมีการเคลื่อนที่ดวยความเร็วต่ำ หรือ ไมไดอยูในรถยนตที่มีการเคลื่อนที่ในขณะที่กําลังใชบริการรับสงขอมูลมัลติมีเดียอยูในระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 4G
โทรศัพทเคลื่อนที่จะสามารถรับส่งขอมูลที่มีอัตราการสงขอมูลที่หลากหลาย ขึ้นอยูกับความตองการใชบริการในสภาวะแวดลอมตาง ๆ ซึ่งผูใชสามารถใชบริการรับสงขอมูลตาง ๆ ได แมอยูในรถยนตที่กําลังเคลื่อนที่ และมีอัตราการรับสงขอมูลขึ้นไปถึง 50-100 Mbps ขึ้นไป
นอกจากนี้ ในระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 4G จะสนับสนุนการบริการตาง ๆ ที่มีลักษณะการบริการทั้งแบบสมมาตรและแบบไมสมมาตร (Symmetrical / Asymmetrical Services) การบริการแบบสมมาตร คือ ขอมูลมีการรับสงกันทั้งสองฝายในปริมาณที่เทา ๆ กัน การบริการแบบไมสมมาตร คือ ปริมาณการสงขอมูลของฝายหนึ่งมีมากกวาอีกฝายหนึ่ง เชน การใชบริการอินเตอรเน็ต ซึ่งสวนมากเราจะรับขอมูลมากกวาสงขอมูล ในเรื่องคุณภาพของการบริการที่มีลักษณะแบบเวลาจริง(Real time) ก็จะดีขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนการบริการที่มีลักษณะแบบแพรกระจายขอมูลใหมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นดวย
โครงขายโทรศัพทเคลื่อนที่ในอนาคตจะมีคุณลักษณะการติดตอสื่อสารเปนแบบแนวนอน หมายความวาระบบการเชื่อมตอตาง ๆ ระหวางโครงขายและเครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ของผูใชที่แตกตางกันทางเทคนิค เชน ระบบโทรศัพทเคลื่อนที่เซลลูลาร ระบบการเชื่อมตอแบบบรอดแบนด (Broadband) ไรสาย ระบบแลนไรสาย ระบบการเชื่อมตอระยะสั้น (Short-Range Connectivity) และระบบที่ใชสายตาง ๆ จะถูกนํามาเชื่อมโยงใหอยูในแพลตฟอรมเดียวกัน เพื่อใหการเชื่อมตอของระบบตาง ๆ สามารถเขาดวยกันไดอยางมีประสิทธิภาพ เปนวิธีที่ทําใหมีบริการตางๆ ที่เปนไปตามความตองการของผูใชและสภาวะแวดลอมทางดานคลื่นความถี่ที่ใชงาน
กุญแจที่สําคัญที่จะทําใหการพัฒนาระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 4G มีความเปนไปได จะตองมีการระบุแนวโนมของเทคโนโลยีตาง ๆ ที่เกี่ยวของ ดังนี้ระบบ เทคโนโลยีที่เกี่ยวของและตองคํานึงถึง ไดแก Voice over IP ซอฟตแวรการจัดการดานคลื่นความถี่ เครื่องรับสงบรอดแบนดไรสาย, แพลตฟอรมของระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ สถาปตยกรรมโครงขาย ระบบไรสายที่เปนแบบ IP ทั้งหมด (All-IP Wireless), การรักษาความปลอดภัย การเขารหัส การตรวจสอบผูใชบริการ การเรียกเก็บคาใชบริการ การพาณิชยอิเล็กทรอนิกสบนระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ และเทคโนโลยีโครง ขายMobile Ad hoc (MANETS)
แอพพลิเคชัน เทคโนโลยีที่เกี่ยวของ ไดแก การบีบอัดสัญญาณ เทคนิคการเขารหัสที่มีอัตราการเขารหัสแบบพลวัตร (Dynamic Variable-rate Codecs), การอินเตอรเฟซระหวางผูใชกับโทรศัพทเคลื่อนที่อัจฉริยะ เทคโนโลยีการติดตอสื่อสารขอมูลที่มีลักษณะต่อเนื่องกัน ภาษาที่ใชเขียนโปรแกรมสําหรับบริการตาง ๆ และเทคนิคในการพัฒนาแอพพลิเคชัน
การเชื่อมตอไรสาย เทคโนโลยีที่เกี่ยวของ ไดแก การควบคุมคุณภาพของการบริการแบบพลวัตร, การควบคุมความผิดพลาด, เทคนิคการคนหาเซลลที่ความเร็วอัตราสูง, การควบคุมการเคลื่อนที่บนพื้นฐาน IP ระบบสงแพ็กเกต IP, การปรับตัวของขายเชื่อมโยงและการสงคลื่นแสง
การใชคลื่นความถี่อยางมีประสิทธิภาพ เกี่ยวของกับการขยายการใชคลื่นความถี่ยานไมโครเวฟ, การใชแถบความถี่รวมกัน และแบงปนการใชความถี่, การกําหนดชองสัญญาณแบบพลวัตร, เทคนิคลดการเกิดสัญญาณรบกวน โครงสรางของเซลลสามมิติที่มีความหนาแนนสูง (High-Density 3D Cell Structure), สายอากาศแบบ อัลเรยแบบปรับตัวได, เทคนิค MIMO (Multiple-Input Multiple-Output) และเทคนิค OFDM (Orthogonal FrequencyDivision Multiplexing)
เครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ เทคโนโลยีที่เกี่ยวของ ไดแก เทคนิคการจัดการดานการใชพลังงาน, เทคโนโลยีดานอุปกรณหนาจอแสดงฟงกชันการทํางานตางๆ, การจดจําเสียง (Voice Recognition), เทคโนโลยีดานการผลิตอุปกรณเซมิคอนดัคเตอร, แพลตฟอรมของระบบเครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ และการรักษาความปลอดภัย
จะเห็นไดวาการพัฒนาระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ยุค 4G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น จะตองมีการพัฒนาเทคโนโลยีตาง ๆ ที่เกี่ยวของเปนจํานวนมาก เพื่อใหระบบมีสมรรถนะที่สูงขึ้น และทําใหเกิดการรวมระบบระหวางระบบการเชื่อมตอแบบบรอดแบนดไรสาย และระบบโทรศัพทเคลื่อนที่
ความโดดเด่นของ 4G คือ
- ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้
- มีช่องสื่อสารความกว้างสูง สามารถสื่อสารได้ทุกสถานที่ มีการเชื่อมต่อกับระบบสื่อสารแบบใช้สายเช่น ระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างราบรื่น มีทรัพยากรทีสามารถปรับตัวต่อสภาพการใช้งานได้หลายแบบ และสามารถให้บริการมัลติมิเดียคุณภาพสูงได้
- อัตราการรับ-ส่งข้อมูลควรทำได้ 100 Mbps สำหรับการใช้งานลักษณะเคลื่อนที่ และในปี ค.ศ. 2010 ควรทำได้อย่างน้อย 1 Gbps สำหรับการใช้งานทั่วไป
- เป็นมาตรฐานสากล แบบเปิด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสเปคตรัมที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
- ความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูง ๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full-motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย
- ระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมาก และมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งในการจัดทำมาตรฐาน สากลเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของโลก อยู่ระหว่างการเร่งจัดทำมาตรฐานสื่อสาร ไร้สายยุคที่ 4 หรือ 4G โดยคาดหมายว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 – 2 ปีนี้ และพยายามผลักดันในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีโทรคมนาคม ได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี 4G โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาไว้ว่า
- เทคโนโลยีของระบบ 4G ควรจะเข้ากันได้กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันซึ่งมีระบบการเข้าถึงที่ค่อนข้างหลากหลาย และใช้ได้ดีกับเครือข่ายสื่อสารส่วนบุคคล (PAN)
- อัตราการรับ-ส่งข้อมูลควรทำได้ 100 Mbps สำหรับการใช้งานลักษณะเคลื่อนที่ และในปี ค.ศ. 2010 ควรทำได้อย่างน้อย 1 Gbps สำหรับการใช้งานทั่วไป
- เป็นมาตรฐานสากล แบบเปิด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสเป็คตรัมที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในขณะนี้
มุมมองของ WWRF (Wireless World Research Forum) คาดหมายว่า เครือข่าย 4G ควรจะเป็นเครือข่ายที่สามารถทำงานบนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ร่วมกับเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ เช่น WiFi และ WiMAX โดยมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 100 Mbps (สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป) จนถึง 1 Gbps (สาหรับเครือข่าย WiFi ท้องถิ่น) ที่สำคัญคือ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งทางด้านหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐานและนักสังเกตการณ์อุตสาหกรรมว่า WiMAX น่าจะมีโอกาสแปลงกลายเป็นเทคโนโลยี 4G ที่มีความสมบูรณ์มากกว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 4G ที่พยายามพัฒนากันใหม่ขณะนี้
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 (Fourth Generation of Mobile Telephone) กำลังเป็นที่กล่าวถึงในกลุ่มนักวิจัยของผู้ผลิตเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำ อาจจะยังไม่มีการนิยามเป็นทางการแน่นอนให้อ้างอิงได้ก็ตาม แต่ผู้เชี่ยวชาญในวงการโทรคมโลก ได้กล่าวว่า 4G นั้นคือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลมากกว่า 100 Mbps
สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (ซึ่งทั่วโลกเข้าใจตรงกันไปแล้วว่าคือมาตรฐาน IMT-2000) 3G ในมาตรฐานดังกล่าวอาจจะถูกนิยามอัตราเร็วไว้ที่ 2 Mbps เท่านั้น และใน ITU-R Recommendation M. 1645 (ปัจจุบันปรับปรุงแล้ว) เป็นเป้าหมายของ IMT-Advanced นั้น ซึ่งถือว่าเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4
ITU-R ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของ ITU รับผิดชอบด้านกิจการวิทยุคมนาคม (radiocommunication) คาดหมายว่าจะดำเนินการจัดทำนิยามของระบบสื่อสารไร้สาย 4G ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทั้งนี้ ITU-R กำลังเร่งจัดทำชุดเอกสารสำหรับนิยามนี้อย่างรีบเร่ง
ภารกิจของ ITU จะเป็นการรวบรวมปัจจัยต่างๆที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจของอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมดุลของมุมมองด้านตลาดและบริการ ด้านเทคโนโลยี ด้านคลื่นความถี่ และกรอบการกำกับดูแล
ในการจัดทำมาตรฐานระบบที่เกินกว่า 3G นี้มีความคืบหน้าเป็นลำดับ โดยจะเริ่มเปิดวิสัยทัศน์ของมาตรฐานสำหรับ 4G ได้ในปี 2010 และกำหนดชื่อสำหรับ 4G ในปี 2015 (IMT-Advanced) จากนั้นในราวปี 2016 ITU-R จะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อดำเนินการพัฒนา IMT-Advanced ต่อไป
ITU-R กำหนดให้มีการเปิดรับพิจารณาเทคโนโลยีและมาตรฐานของกลุ่มต่างๆตั้งแต่ปี 2008 – 2009เพื่อประกาศเป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการสำหรับ 4G (IMT-Advanced) ซึ่งขณะนี้มีมาตรฐานที่กำลังแข่งขันเพื่อจะประกาศให้เป็นมาตรฐาน 4G จำนวน 3 มาตรฐาน คือ LTE (long-term evolution), UMB (ultramobile broadband) และ WiMAX II (IEEE 802.16.m) นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานอื่นๆที่อยู่ระหว่างการนำเสนออีกหลายมาตรฐานในปี 2009 จากนั้น ITU-R จึงจะเริ่มพิจารณารายละเอียดเฉพาะแต่ละมาตรฐานต่อไป
LTE พัฒนาโดย 3GPP (กลุ่มพัฒนาของ GSM ที่มีบริษัท อีริคสัน นำทีม) ในขณะที่ UMB พัฒนาขึ้นโดย 3GPP (กลุ่มพัฒนา CDMA 2000 ที่มีบริษัท ควอลคอมม์ นำทีม) และ WiMAX II พัฒนาโดย WiMAX Forum (นำทีมโดยบริษัท อินเทล)
เทคโนโลยีทั้งหมดที่ใช้กับ 4G จะเป็นแบบแพ็คเกท สวิตซ์ ที่ใช้ IP ในขณะที่ปัจจุบันเทคโนโลยี 3G ซึ่งประกอบด้วย WCDMA, HSDPA, CDMA2000, และ EVDO มุ่งเน้นที่จะพยายามทำให้การสื่อสารด้านเสียงพูดมีความสมบูรณ์ที่สุด
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสัญญาณทุกมาตรฐานจะใช้เทคโนโลยี OFDA (Optical Frequency Division Access) ยกเว้นในส่วนอัพลิงค์ของ LTE ที่ใช้ single-carrier FDMA (Frequency Division Multiple Access) เพื่อปรับปรุงด้าน power efficiency เท่านั้น ทั้งนี้ UMB ให้การรับรองว่าสามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 288 Mb/s (ด้วย 20 MHz band) ในขณะที่ LTE ทำได้ที่ 250 Mb/s ส่วน WiMAX II ทำได้เกินกว่า 1 Gb/s ขณะหยุดนิ่ง
การพัฒนาไปสู่มาตรฐาน
ย้อนกลับไปดูประวัติการพัฒนาของเทคโนโลยี 4G แล้ว จะเห็นว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่มีหนทางการพัฒนาที่ค่อนข้างยาวนาน หลายๆกลุ่มและหลายๆองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลลัพธ์สุดท้ายได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากมาย ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วยองค์กรพัฒนามาตรฐาน (SDO - Standards Development Organizations) , สมาคมอุตสาหกรรม และบรรดาบริษัทต่างๆ (เช่น OEM) โดย SDO ที่สำคัญๆหลายองค์กรเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ไม่แสวงหากำไรและบางองค์กรมีฐานะเป็นองค์กรของรัฐ เช่น ETSI ในยุโรป CCSA ในจีน และ TTA ในเกาหลี สมาคม 3GPP และ 3GPP2 ก็เป็น SDO ทางอุตสาหกรรมที่พัฒนาและดูแลมาตรฐานของเทคโนโลยี 2G และ 3G อยู่ด้วยในขณะนี้
ในปีนี้ (ค.ศ.2007) ITU จะพยายามโน้มน้าวในการประชุมต่างๆทั่วโลกให้ช่วยกันเร่งพัฒนามาตรฐาน 4G ให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะได้เห็นมาตรฐานของ ITU ได้ก่อนหรือหลัง ค.ศ. 2010 ตามที่ ITU เคยคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ ยังมุ่งที่การรับ-ส่งข้อมูลให้เร็วๆขึ้น แต่นิยามมาตรฐาน 4G ยังไม่เห็นชัด
กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA development group) หรือ CDG ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกากำลังผลักดันความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 1xEV-DO ให้เป็นไปตามที่คาดหวังว่าจะได้จากเทคโนโลยี 4G โดยใน Revision C ของกลุ่ม ได้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีสายอากาศของ CDMA, TDM, OFDM และ MIMO (Multiple Input Multiple Output) หรือแม้แต่ SSDMA (Space Division Multiple Access) เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดให้สูงขึ้นถึง 280 Mbps โดยเรียกมาตรฐานใหม่นี้ว่า Ultra mobile Broadband
พัฒนาเทคโนโลยีการเข้าถึงและเรื่องของ Capacity
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้าถึงไร้สายที่เด่นๆมีหลายเทคโนโลยีด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องของมาตรฐาน 4G, 802.16e และ 802.20 ได้แก่ OFDMA, Single Carrier FDMA และ MC-CDMA การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่นี้จำเป็นต้องดำเนินไปควบคู่กับการสนับสนุนความสามารถและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเดิมให้เพิ่มสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีของเทคโนโลยี CDMA ซึ่งมีแนวคิดในส่วนของ physical layer multiple access ที่จะนำเทคโนโลยี OFDMA มาใช้สำหรับดาวน์ลิงค์และ Single Carrier FDMA (SC-FDMA) สำหรับอัพลิงค์
วิธีการหนึ่งที่จะเพิ่มความจุ (Capacity) ของระบบก็คือ การพัฒนาระบบสายอากาศที่เป็นแบบ Multiple-Input Multiple-Output (MIMO) เนื่องจากระบบไร้สายที่ใช้สายอากาศต้นเดียว (single antenna) จะมีคุณลักษณะเป็นไปตามกฎของ “แชนนอน” (Shannon) ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของ capacity ซึ่งคิดคำนวณได้จากสูตร C = log2 (1+SNR) เพราะฉะนั้น ideal capacity จะเพิ่มขึ้นเป็นค่าล็อก (log) ของอัตราส่วนระหว่างสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (S/N ratio) ในขณะที่หากเป็นระบบ MIMO แล้ว capacity จะเพิ่มขึ้นเป็นเชิงเส้น (linearly) ตามจำนวนชุดหรือคู่รับ-ส่งสัญญาณที่ใช้
4G นั้นจะให้บริการใหม่ๆ อีกมากมาย เช่น Interactive TV (คือโทรทัศน์ที่สื่อสารได้สองทาง) รวมถึงโทรทัศน์ที่ใช้รับชมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สามารถรองรับระบบการทำงานแบบเคลื่อนที่ด้วย นอกจากนั้นระบบโทรศัพท์ยังต้องรองรับระบบการทำงานที่สามารถสนทนาต่อเนื่องระยะยาวได้แบบ Always-on ซึ่งทำให้หน่วยชี้วัดการทำงานของระบบโทรศัพท์เปลี่ยนไปเป็น Gbit/s/km คือกล่าวได้ว่าจะเทียบอัตราเร็ว (ระดับ 10,000,000,000 bit) ต่อวินาที และต่อกิโลเมตรด้วย ที่สำคัญต้องมีค่าบริการที่ต่ำมาก สามารถใช้งานเชื่อมต่อได้ทั้ง 2G 3G และเทคโนโลยี WiMAX OFDMA MIMO แบบ Real time ต่อเนื่อง ทิศทางของโลกโทรคมจะไปเป็น IP-Based
หากมีอุปกรณ์ที่รองรับอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงขนาดนั้นได้ นั่นหมายความว่าสามารถสร้างสรรค์บริการเสริมได้มากมาย ที่จะเห็นพัฒนาการของบริการได้ชัดเจนจาก 3G ไปเป็น 4G นั้นก็คือ Video และ Sound
แบบบริการต่างๆ ที่รองรับผู้ส่งและผู้รับเป็นได้ทั้งมนุษย์และเครื่องจักร นอกจากนั้นยังรองรับเทคโนโลยีต่างๆ ที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน ทั้งเส้นทางการเชื่อมต่อระบบ 3G ในรูปที่3 เข้ากับเทคโนโลยี LAN ไร้สายหรือ WiFi ซึ่งนิยมใช้กันมากขึ้นตั้งแต่ปี 2005 ทั้งใน โน้ตบุ๊ก และ PDA รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ Voice over Wireless LAN (VoWLAN) ในรูปแบบ Packet
การเชื่อมต่อเครือข่าย 4G นั้นกล่าวง่ายคือ ตัวลูกข่าย (Terminal) นั้นจะเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Pico Cell ก่อน ซึ่งแต่ละ Pico Cell นั้นจะเชื่อมต่อกันอยู่ภายใต้โครงข่ายร่มใหญ่ (Umbrella Cell) ซึ่งก็คือเครือข่าย 3G และ WiMAX นั่นเอง
4G เป็นระบบ ที่รองรับการหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Convergence of Technology) ทั้งในเทคโนโลยีอดีตและเทคโนโลยีแห่งอนาคตเข้าสู่โลก IP ในรูปแบบ Packet-Based ด้วยกันดังรูป
4G Mobile Technology System and Standard คือ เทคโนโลยีสื่อสารยุคใหม่ที่พัฒนามาเพื่อความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีรับส่งข้อมูลความเร็วสูง มีความสามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดจนข้อความภาพและยังคุณสมบัติพิเศษคือ สร้างภาพ3มิติมีการถ่านโอนข้อมูลถึง 100เมกะบิตต่อวินาที และช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของระบบ GPRS ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนอกจากนี้เทคโนโลยี 4G สามารถค้นหาตำแหน่งต่างๆทั่วโลกได้ และนี้จะทำให้เราเข้าสู่ยุดอนาคตอย่างแท้จริง แต่เทคโนโลยีนี้อยู่ในช่วงการทดลองศึกษา และหวังว่าในอนาคตจะทำให้เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ต้องยอมรับว่า วิวัฒนาการทางด้านเครือข่ายเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาไปนั้น เกิดจากการแข่งขันกันทั้งของผู้เสนอมาตรฐานและผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่าความต้องการทางตลาด รูปแบบของการให้บริการ Mobile Broadband บนเครือข่าย 3G ที่พึ่งลงทุนไปไม่ถึง 10 ปีนั้น ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายและใช่ว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งเดิมทีเกิดจากกลุ่มผู้ใช้ที่มีความต้องการในการใช้งานด้านเสียงเพียงเท่านั้น ทำให้เกิดคำถามว่าจำเป็นแล้วหรือไม่กับการพัฒนาไปสู่ยุค 4G ทั้งนี้คำตอบ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ ที่แตกออกมาได้ ดังต่อไปนี้
- ลักษณะลูกค้าของแต่ละผู้ให้บริการ และความต้องการใช้งานด้านสื่อสารข้อมูลในตลาดเป็นเช่นไร
- ทรัพยากรโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ของแต่ละผู้ให้บริการ อาทิเช่น อุปกรณ์โครงข่าย, ความถี่ และรวมไปถึงทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
- เทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาลงทุนนั้น เข้ากันได้ในการที่ต้องปรับเปลี่ยนพัฒนา (upgrade) ไปสู่โครงข่ายใหม่นั้นราบรื่นเพียงใด คุ้มค่าหรือไม่
- เครื่องโทรศัพท์มือถือที่รองรับมีมากน้อยเพียงใด
ประสบการณ์การพัฒนา, การให้บริการในยุคเครือข่าย 3G ของแต่ละผู้ให้บริการ, เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และสำคัญอย่างยิ่งที่แต่ละผู้ให้บริการนั้นมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีผลในการตัดสินใจการลงทุนไปสู่ยุค4G
บรรณานุกรม
NTT DoCoMo, 4G Network and i-mode Technology, Japan
http://www.mobilecomms-technology.com/projects/4g_i-mode/
3G Americas, Defining 4G
http://www.3gamericas.org/documents/3G_Americas_Defining_4G_WP_July2007.pdf
Asia Blogging Network, 4G and the ITU
http://mytechblogs.com/network/
IST-Winner, International co-operation towards cost efficient solutions
http://www.ist-winner.org/about.html
Wikipedia, 4G
http://en.wikipedia.org/wiki/4G
MobileInfo.com, 4G Vision, Concepts & Efforts
http://www.mobileinfo.com/3G/4GVision&Technologies.htm
Werner Mohr, Mobile Communications Beyond 3G in the Global Context
http://www.cu.ipv6tf.org/pdf/werner_mohr.pdf
Noah Schmitz, The Path To 4G Will Take Many Turns
http://www.wsdmag.com/Articles/ArticleID/10001/10001.html
Eiko Seidel, Progress on LTE Advanced - The future 4G standard
http://www.nomor.de/home/technology/white-papers/progress-on-lte-advanced---the-future-4g-standard
NTT DoCoMo,Achieves World's First 5Gbps Packet Transmission in 4G Field Experiment
http://www.nttdocomo.com/pr/2007/001319.html
Alcatel-Lucent, 4G Mobile
http://www1.alcatel-lucent.com/com/en/appcontent/apl/A0506-4G_Mobile-EN_tcm172-262201635.pdf
Nortel Networks, 4G Mobile Broadband
3G4G.co.uk, Frequently Asked Questions on 4G
http://www.3g4g.co.uk/4G/faq.html
4GPhones.co.uk, About 4G Phones and Wireless Communications
http://www.4gphones.co.uk/about-4g-phones.htm
Wisegeek.com, What is 4g Mobile Technology?
http://www.wisegeek.com/what-is-4g-mobile-technology.htm
พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, 4G เทคโนโลยีในฝัน ที่กำลังจะเป็นจริง
http://ngnforum.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=64&Itemid=48
วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง และ อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, ความเคลื่อนไหวและทิศทางของธุรกิจ 3G ในปี 2009
http://mimeeja.wordpress.com/public-article/
Free TextEditor
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น